fbpx
 หยุดยาวนี้คนพร้อมรถพร้อมรึยัง ตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเดินทาง

หยุดยาวนี้คนพร้อมรถพร้อมรึยัง ตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเดินทาง

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนมักจะเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวและเพื่อนญาติในพื้นที่ต่างๆ การตรวจสอบสภาพรถก่อนเดินทางไกลเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงในช่วงเทศกาลที่มีจำนวนคนเดินทางเยอะๆ ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีตรวจสอบสภาพรถก่อนเดินทางไกลในช่วงสงกรานต์ให้ดูกัน ตรวจสอบเครื่องยนต์และน้ำมันเครื่อง: เครื่องยนต์และน้ำมันเครื่องเป็นสิ่งที่สำคัญในการขับรถ ดังนั้นเมื่อเตรียมเดินทางควรตรวจสอบว่าเครื่องยนต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง โดยตรวจสอบว่าเครื่องยนต์ไม่มีเสียงผิดปกติและหม้อน้ำไม่มีการรั่วไหล นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบน้ำมันเครื่องที่เพียงพอต่อการเดินทางเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในช่วงที่เดินทางไกล ตรวจสอบแบตเตอรี่: การตรวจสอบแบตเตอรี่เป็นสิ่งที่สำคัญในการเตรียมตัวก่อนเดินทางไกล แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเปิดตัวรถยนต์ ดังนั้นเมื่อเตรียมเดินทางควรตรวจสอบว่าแบตเตอรี่ทำงานได้อย่างถูกต้อง ตรวจสอบยางรถ: ยางรถเป็นสิ่งที่สำคัญในการขับรถ เนื่องจากมีความสำคัญต่อความปลอดภัยของการขับรถ เมื่อเตรียมเดินทางควรตรวจสอบว่ายางรถยนต์ไม่มีรอยแตกหรือรอยฉีกของยางและมีการเติมลมให้เพียงพอ ตรวจสอบระบบไฟฟ้า: ระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งที่สำคัญเมื่อขับรถในช่วงเวลากลางคืน และช่วงฝนตกหนัก ควรตรวจสอบว่าไฟหน้า ไฟหลัง และไฟเบรกทำงานได้อย่างถูกต้อง ตรวจสอบเบรก: เบรกเป็นสิ่งที่สำคัญเมื่อขับรถ ควรตรวจสอบว่าเบรกทำงานได้อย่างถูกต้อง โดยการกระทำให้รถหยุดสมบูรณ์เมื่อเบรกถูกกด ตรวจสอบที่นั่งของรถ: ที่นั่งของรถยนต์เป็นสิ่งที่สำคัญเมื่อขับรถเป็นเวลานาน ควรตรวจสอบว่าที่นั่งสะดวกสบายและไม่มีอุปสรรคในการเดินทาง ตรวจสอบพัดลมระบายอากาศ: พัดลมระบายอากาศเป็นสิ่งที่สำคัญเมื่อขับรถในช่วงเวลาที่อากาศร้อน ควรตรวจสอบว่าพัดลมทำงานได้อย่างถูกต้องเพื่อให้มีอากาศเย็นสบาย ตรวจสอบระบบเครื่องหมายไฟฟ้า: ควรตรวจสอบว่าระบบเครื่องหมายไฟฟ้าต่างๆ บนแผงควบคุมดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เช่น กระบวนการเปิดปิดประตูและหน้าต่างอัตโนมัติ ตรวจสอบระบบหม้อน้ำ: ควรตรวจสอบระบบหม้อน้ำของรถยนต์เพื่อให้มั่นใจว่าระบบทำงานได้อย่างถูกต้อง และไม่มีการรั่วไหลน้ำหรือฉีดฉากน้ำที่เครื่องยนต์…

 พร้อมหรือยัง?​ กับการฉีดวัคซีน Covid-19 มาดูวิธีการเตรียมตัวกัน

พร้อมหรือยัง?​ กับการฉีดวัคซีน Covid-19 มาดูวิธีการเตรียมตัวกัน

7 มิถุนายน 2564 ถือเป็นการดีเดย์วันแรก ของการเร่งฉีดวัคซีนโควิด 19 ผ่านทางโครงการ ไทยร่วมใจกรุงเทพฯ ปลอดภัย แคมเปญ ที่ให้คนไทยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยได้มีการเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 วิธีการเตรียมความพร้อม ก่อนถึงวันเข้ารับวัคซีน ไม่อดนอน ควรนอนหลับให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา และกาแฟ ไม่มีไข้ หรืออาการเจ็บป่วยในวันฉีดวัคซีน หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก 2 วัน ทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีน ควรฉีดวัคซีนบริเวณแขนที่ไม่ถนัด และหลังฉีดควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก วิธีการดูแลตัวเองหลังฉีดวัคซีน หากมีไข้หรือปวดศีรษะสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หากมีผื่นลมพิษ ไข้สูงมาก หน้ามืด เป็นลม แขนขาอ่อนแรง เจ็บหน้าอกให้พบแพทย์ทันที สวมหน้ากาก ล้างมือให้บ่อย รักษาระยะห่างทางสังคม…

 กฎกระทรวงวิ่ง 120 กม./ชม. คลอดแล้ว ชาวซิ่งเตรียมเฮ!

กฎกระทรวงวิ่ง 120 กม./ชม. คลอดแล้ว ชาวซิ่งเตรียมเฮ!

มีผลแล้ว กฎกระทรวงปรับอัตราความเร็วสูงสุดรถยนต์ 120 กม./ชม. มอเตอร์ไซค์ได้ 80 กม./ชม. เว้นบิ๊กไบค์ได้ 110 กม./ชม. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ กฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กำหนด ลงนามโดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2564 โดยประกาศฉบับดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้ กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับแก่ทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่มีทางเดินรถ ซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องเดินรถขึ้นไป มีเกาะกลางถนนแบบกำแพง และไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน ตามที่ผู้อำนวยการทำงหลวงประกาศกำหนด กำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะต่างๆ ดังนี้ 1. รถบรรทุกที่มีน้ำ หนักรถเกิน 2,200 กก. หรือ รถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งเกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. 2. รถขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กม./ชม. 3. รถจักรยานยนต์ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.  เว้นแต่รถจักรยานยนต์ ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่สำมสิบห้ำกิโลวัตต์ขึ้นไปหรือมีขนำดควำมจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ลบ.ซม.ขึ้นไป (บิ๊กไบค์) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน110 กม./ชม. 4. รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้ควำมเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. 5. รถบรรทุกคนโดยสาร ที่มีที่นั่งคนโดยสารเกิน 7 คนแต่ไม่เกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กม./ชม. 6. รถแทรกเตอร์ รถบดถนน หรือรถใช้งานเกษตรกรรม ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 45 กม./ชม. ส่วนรถอื่นๆ ให้ใช้ควำมเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม. ทั้งนี้ หากรถดังกล่าวอยู่ในช่องเดินรถช่องขวาสุด ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม. เว้นแต่ในกรณีที่ช่องเดินรถนั้นมีข้อจำกัดด้านการจราจรหรือทัศนวิสัยมีสิ่งกีดขวาง หรือมีเหตุขัดข้องอื่น ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นเขตอันตราย หรือเขตให้ขับรถช้าๆ ให้ลดความเร็วลงและเพิ่มความระมัดระวังขึ้นตามสมควร และในกรณีที่ทางเดินรถหรือช่องเดินรถใดมีเครื่องหมายจราจรกำหนดอัตราความเร็วต่ำกว่าอัตราที่กำหนดไว้ ให้ใช้ควำมเร็วไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้นั้น